เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทีไร มักหนีไม่พ้นในเรื่องของการซ่อมพื้นดาดฟ้ารั่วซึม ซึ่งเกิดจาก”ปัญหาการรั่วซึมของน้ำฝน” ของ “ดาดฟ้าคอนกรีต” หรือ “หลังคา Flat Slab” เป็นอีกจุดที่รั่วซึมได้ง่ายเมื่อใดที่ฝ้าเพดานห้องใต้ดาดฟ้า เกิดรอยน้ำซึมเป็นด่างดวง สันนิษฐานได้เลยว่า น้ำได้ซึมเข้ารอยร้าวของพื้นคอนกรีต ทำให้เกิดความชื้นสะสมจนเหล็กเสริมเกิดเป็นสนิม เมื่อปล่อยไว้นานสนิมจะดันจนคอนกรีตแตกกะเทาะเป็นแผลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดน้ำจะซึมรั่วไหลหยดลงสู่พื้นที่ใช้งานด้านล่าง สร้างความเสียหายและรบกวนใจ พื้นดาดฟ้ารั่วซึม จึงเป็นอีกปัญหาที่เจ้าของควรใส่ใจป้องกันและแก้ไข สำหรับบ้านหรืออาคารที่เกิดปัญหาเเล้ว
วันนี้เรามีวิธีการซ่อมพื้นดาดฟ้าคอนกรีตรั่วซึมที่มีอายุมากกว่า 10 ปี มาฝากกับทุกท่านกันครับ
1. รื้อถอนวัสดุเก่าทั้งหมดพร้อมทำความสะอาดและขนนำไปทิ้ง
2. ตรวจสอบจุดที่มีน้ำรั่วซึมทั่วบริเวณพร้อมมาร์คตำแหน่งที่ต้องแก้ไขให้เรียบร้อย
3. ทำการซ่อมรอยแตกร้าวทีทำให้เกิดปัญหาทั้งหมดด้วยวิธีดังนี้
3.1 ) กรีดขยายรอยร้าวให้มีความกว้างประมาณ 1-2 cm. และทำความสะอาดฝุ่นออก
3.2 ) ใช้ผลิตภัณฑ์ PU Sealant ซิลให้เติมรอยร้าวและปาดเรียบทั้งหมด
3.3 )ใช้ผลิตภัณฑ์ Fromdex Uniflex ทาบนรอยร้าวโดยทากว้าง 10 cm. และเสริมใยสาน
3.4 )ใช้ผลิตภัณฑ์ Fromdex Uniflex ทามขอบมุมผนังและตามแนวขอบผนังทั้งหมด และตามรอยต่อพื้นกับผนังทั้งหมดควมสูง 15 cm. และเสริมใยสานทั้งหมดทุกมุม
4. ตรวจสอบบริเวณที่มีแอ่งน้ำขังและทำการปรับเสริมแอ่งขึ้นด้วย PU Morta
5. ตรวจสอบจุดที่อาจมีน้ำรั่วซึมอีกครั้งก่อนติดตั้งผลิตภัณฑ์ PUR
6. ทำการติดตั้งระบบกันซึม PUR ทั้งหมด
6.1/ทำการตรวจสอบความชื้นก่อนติดตั้ง PU primer
6.2/ติดตั้ง PU primer พร้อมเสริมใยสาน 100 กรัม ทั่วบริเวณทั้งหมด ( ชั้นที่ 1 )
6.3/ติดตั้งกันซึม PUR (Polyurea) ทั่วบริเวณทั้งหมด ( ชั้นที่ 2 )
6.4/ติดตั้งกันซึม Top Coat (สีเขียว) ชั้นสุดท้ายทั่วทั้งบริเวณทั้งหมด ( ชั้นที่ 3 )
7. ทำการตีเส้นกันซึม Top Coat (สีขาว) บริเวณลานจอดฮอริคอปเตอร์
8.ทำการทาสีบันไดเหล็กใหม่ทั้งหมดโดยการขัดผิวเดิมและทาสีใหมั้งหมดรวมทาสีกันสนิมและสีจริงทั้งหมด 3 เที่ยว
จะเห็นได้ว่าปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม แม้จะมีวิธีแก้ไขแต่ก็นับว่ายุ่งยากพอสมควร การป้องกันโดยติดตั้งระบบพื้นพร้อมระบบกันซึม ให้ถูกต้องเหมาะสมไว้แต่แรกย่อมดีกว่า เรื่องสำคัญที่ควรคำนึงคือ การติดตั้งวัสดุกันซึมเพิ่มเติม (มิใช่เพียงแค่ผสมน้ำยากันซึมในเนื้อคอนกรีต) แม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่ในระยะยาวนับว่าคุ้มค่ามาก เมื่อเทียบกับความเสียหาย เวลา และค่าซ่อมแซมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต